วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปทฤษฏี Constructivism

Constructivist theory

ในศตวรรษที่ผ่านมา Constructivism ไม่แพร่หลายเนื่องจากคนส่วนใหญ่คิดว่าการเล่นของเด็กเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ Jean Piaget ไม่เห็นด้วยกับมุมมองนี้ เขาเห็นว่าการเล่นเป็นส่วนสำคัญและจำเป็นของการพัฒนาความรู้ความเข้าใจของนักเรียน วันนี้ทฤษฎีคอนสตรัคจะมีอิทธิพลมากในการเรียนรู้
1. Constructivist learning intervention
1.1 The nature of the learner (ธรรมชาติของผู้เรียน)
1.1.1 The learner as a unique individual (ความแตกต่างระหว่างผู้เรียน)
ผู้เรียนแต่ละคนเป็นบุคคลที่แตกต่างในความต้องการและภูมิหลัง ผู้เรียนเป็นบุคคลที่ซับซ้อนและมีหลายมิติ constructivism ไม่เพียงแต่รับทราบเอกลักษณ์และความซับซ้อนของผู้เรียน แต่จะใช้สิ่งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
1.1.2 The importance of the background and culture of the learner (ความสำคัญของภูมิหลังและวัฒนธรรมของผู้เรียน)
ผู้เรียนเป็นสมาชิกของวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ และวัฒนธรรมจะนำมาซึ่งสิ่งต่างๆที่ผู้เรียนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ยังเน้นความสำคัญของลักษณะของการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของผู้เรียน กับสมาชิกของสังคมนั้น หากไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น จะไม่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆในสังคมได้ เด็กพัฒนาความสามารถในการคิดโดยมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น ๆ ผู้ใหญ่และสิ่งแวดล้อม
1.1.3 The responsibility for learning (ความรับผิดชอบในการเรียนรู้)
การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเอง constructivism จึงเน้นความสำคัญของผู้เรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ ผู้เรียนต้องสร้างความเข้าใจของตนเองไม่เพียงแต่อ่านหรือ เรียนรู้ แต่ต้องสะท้อนสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ด้วย
1.1.4 The motivation for learning (แรงจูงใจในการเรียนรู้)
ธรรมชาติของผู้เรียนมักมีความกังวลในการเรียน แรงจูงใจในการเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ผู้เรียนเชื่อมั่นในศักยภาพทางการเรียนรู้ของตน ซึ่งจะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ

1.2 The role of the instructor (บทบาทของผู้สอน)
1.2.1 Instructors as facilitators (ผู้สอนเป็นผู้อำนวยความสะดวก) บทบาทของครูคือผู้อำนวยความสะดวก แต่เดิมผู้เรียนมีบทบาทเป็นเพียงผู้รับ แต่ในทฤษฎีนี้ผู้เรียนจะมีบทบาทหลักในการเรียนรู้ ครูจึงเปลี่ยนแปลงจากผู้ให้ความรู้ ผู้บรรยาย ไปเป็นผู้ให้คำแนะนำและสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับผู้เรียนที่จะเรียนรู้ และสรุปความรู้ด้วยตนเอง

1.3 The nature of the learning process (ธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้)
1.3.1 Learning is an active, social process (การเรียนเป็นกระบวนการทางสังคม)
ใน constructivism สังคมมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนต้องค้นพบหลักการแนวคิดและข้อเท็จจริงด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์ โต้ตอบกับผู้อื่นและกับสภาพแวดล้อมที่พวกเขาอยู่ จะทำให้มนุษย์สร้างความรู้ขึ้นมาได้ การเรียนรู้ที่มีความหมายเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
1.3.2 Dynamic interaction between task, instructor and learner (ปฏิสัมพันธ์ระหว่างงาน ผู้สอนและผู้เรียน)
เน้นผู้สอนและผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันในการเรียนรู้จากกันและกัน ผู้เรียนต้องเรียนรู้ วัฒนธรรม ค่านิยม ซึ่งเป็นงานของผู้เรียน และผู้เรียนจะมีการเปรียบเทียบสิ่งที่ตนเองเรียนรู้กับความรู้ที่ได้รับจากผู้สอน มาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ของตน Constructivism จึงเน้นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนและครูผู้สอนในกระบวนการเรียนรู้ การเรียนการสอนต้องมีการโต้ตอบซึ่งกันและกันร่วมมือจากเพื่อนร่วมชั้นเรียนอีกด้วย

1.4 Collaboration among learners ความร่วมมือระหว่างผู้เรียน
ผู้เรียนมีทักษะและภูมิหลังที่แตกต่างควรทำงานร่วมกันในงานและการอภิปรายถึงความเข้าใจร่วมกันของความรู้ต่างๆ ซึ่งการเรียนรู้จากเพื่อนๆ และการทำงานร่วมกันของผู้เรียนจะเป็นการพัฒนาศักยภาพในการแก้ปัญหา ซึ่งจะทำให้พัฒนาการทางสติปัญญามากขึ้นเกินกว่าขอบเขตข้อจำกัดของการพัฒนาทางร่างกาย
1.4.1 The importance of context (ความสำคัญของบริบท)
บริบทของการเรียนรู้ ทฤษฎีนี้เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง แนวคิด Constructivism คือการเรียนรู้ที่นักเรียนจะใช้เวลาส่วนหนึ่งในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประยุกต์ใช้การเรียนรู้ พยายามให้นักเรียนได้การปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมและปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
1.4.2 Assessment (การประเมินผล)
เน้นแนวคิดการประเมินตามศักยภาพที่แท้จริงของผู้เรียนที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากการทดสอบทั่วไป การประเมินควรอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ ไม่ได้ประเมินที่การประมวลผลอย่างเดียว ควรประเมินจากกระบวนการดำเนินงานด้วย โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ดังนั้นการประเมินผลและการเรียนรู้จะเชื่อมโยง เป็นกระบวนการเดียวกัน อีกทั้งการประเมินนอกจากเป็นกระบวนการที่วัดความสำเร็จของผู้เรียนยังวัดคุณภาพของการเรียนรู้และบทเรียนได้ด้วย ความคิดเห็นจากการประเมินจะทำหน้าที่เป็นพื้นฐานโดยตรงในการพัฒนาต่อไป

1.5 The selection, scope and sequencing of the subject matter (การเลือก ขอบเขตและลำดับของหัวข้อ)
1.5.1 Knowledge should be discovered as an integrated whole ความรู้ควรจะค้นพบโดยภาพรวม
ความรู้ไม่ควรแบ่งออกเป็นวิชา แต่ควรจะค้นพบโดย ภาพรวม
1.5.2 Engaging and challenging the learner (สิ่งที่น่าสนใจและท้าทายผู้เรียน)
ผู้เรียนควรต้องเรียนรู้ทักษะและความรู้ให้สูงกว่าระดับปัจจุบันของการเรียนรู้ ซึ่งควรสร้างแรงจูงใจในความสำเร็จก่อนเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้ผู้เรียน การท้าทายผู้เรียนให้เรียนรู้ งานและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ควรสะท้อนถึงความซับซ้อนของงานที่ผู้เรียนทำ การเรียนรู้ ผู้เรียนต้องมีความเป็นเจ้าของทั้งปัญหา การเรียนรู้ กระบวนการแก้ปัญหา
1.5.3 The structuredness of the learning process (โครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้)
โครงสร้างการเรียนรู้ควรมีความยืดหยุ่นกับกระบวนการเรียนรู้ โครงสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยากจะเหมาะสำหรับให้ผู้เรียนได้สร้างความเข้าใจความหมาย โครงสร้างการเรียนรู้ควรเพียงพอที่จะให้แน่ใจว่านักเรียนได้รับการแนะนำที่ชัดเจนพอที่จะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้

2. Pedagogies based on constructivism (การสอนของครูบนทฤษฎี Constructivism)
วิธีที่ทำได้ดีที่สุดโดยลงมือปฏิบัติ เรียนรู้จากการทดลอง โดยไม่ได้รับการบอกสิ่งที่จะเกิดขึ้น พวกเขาจะอนุมานเองค้นพบและข้อสรุปเหลือที่เอง เน้นที่การเรียนรู้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องเน้นการดำเนินการด้วย ครูผู้สอนต้องประเมินความรู้นักเรียนตลอดเวลาเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนได้รับความรู้ใหม่ วิธีการศึกษาที่ยึดตาม constructivism เช่น Constructionism

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น